วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การสกิมมิ่งและแสกนนิ่ง (Skimming and scanning)
วิธีการทั้งสองวิธีการนี้ เป็นทักษะการค้นหา (Searching skill) ที่จะสามารถช่วยให้ผู้อ่านสามารถอ่านเรื่องได้รวดเร็วและเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ (ซึ่งอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า ผู้อ่านจะต้องทราบคำศัพท์พอสมควรในระดับที่เหมาะสมกับชั้นที่กำลังศึกษาอยู่) โดยไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อเรื่องทั้งหมด (ไม่ต้องอ่านทุกคำหรือต้องรู้คำศัพท์ทุกคำที่มีในบทอ่านนั้น)



การอ่านแบบ skimming นั้น สามารถใช้วิธีการต่างๆ นี้ได้ โดยอ่านหัวข้อ จากนั้นก็อ่านบทนำหรือย่อหน้าแรกของเนื้อเรื่อง หรือจะเลือกอ่านประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของทุกๆย่อหน้าก็ได้ หรือในกรณีที่ผู้อ่านมีความรู้เรื่องประโยคหลักและประโยครอง ก็สามารถเลือกอ่านแบบนี้ได้ (ตามแต่ความถนัดส่วนบุคคล) นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถใช้วิธีการเหล่านี้ร่วมด้วยได้ เช่น การสังเกตจากภาพ ตาราง กราฟ แผนภูมิหรือแผนผัง(ถ้ามีในบทอ่าน) หรือถ้ามีตัวหนังสือแบบเอียง แบบหนา ซึ่งมักจะเป็นคำสำคัญ

ส่วนการอ่านแบบ scanning นั้น จะเป็นวิธีการหาข้อมูลเฉพาะ เช่น ตัวเลข วันที่ สถานที่ ชื่อคน เป็นต้น จะเป็นข้อมูลที่ปรากฏให้ผู้อ่านเห็นได้อย่างชัดเจนในบทอ่าน โดยถ้าในคำถาม ถามถึงสถานที่ ก็ให้กวาดสายตาไล่ดูแต่คำที่หมายถึงสถานที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่เฉพาะ เป็นชื่อเฉพาะ ดังนั้นต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่แน่นอน (แต่อย่างที่ได้ระบุไว้ข้างต้นว่า ผู้อ่านต้องทราบคำศัพท์พอสมควร เพราะคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรใหญ่ทุกตัว ไม่ได้หมายถึงสถานที่เฉพาะทุกตัว อาจจะหมายถึงชื่อคนหรือชื่อเมืองหรือชื่อถนน ขึ้นอยู่กับความรู้รอบตัวของแต่ละบุคคลด้วย) 


ความแตกต่างของวิธีการอ่านสองวิธีนี้คือ
Skimming - เห็นใจความสำคัญของบทอ่าน มองเห็นภาพรวมแบบคร่าวๆ ว่าบทอ่านนั้นเกี่ยวกับอะไร
Scanning - หาข้อมูลเฉพาะ

ดังนั้นวิธีการทั้งสองวิธีการนี้ จะเป็นประโยชน์ในการทำข้อสอบส่วนการอ่านมากกับผู้อ่านที่ทราบคำศัพท์พอสมควรแล้ว และจะช่วยให้หาคำตอบได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอาศัยการฝึกทำบ่อยๆ ถ้าหากอยากจะให้ทักษะทางการอ่านพัฒนา ก็ควรฝึกทำทุกวัน วันละ 10 - 15 นาทีก็พอ













https://www.google.co.th/search?q=scanning+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&source=lnms&sa=X&ei=mj_zUpDIGIWfkAWA_IDYBQ&ved=0CAgQ_AUoAA&biw=1366&bih=596&dpr=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น